ประกันภัยสำหรับบ้านเป็นประกันอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้ยื่นขอสินเชื่อบ้านจะรู้จักหรืออาจได้ยินชื่อประกันภัยประเภทนี้อย่างแน่นอน เพราะในช่วงที่ทำเรื่องและยื่นเอกสารขอสินเชื่อนั้น สถาบันการเงินหรือธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อบ้านให้มักนำเสนอประกันภัยสำหรับบ้านในรูปแบบต่าง ๆ แก่ผู้ต้องการสินเชื่อ อย่างไรก็ดี จะมีประกันภัยสำหรับบ้านบางประเภทที่ผู้ยื่นขอสินเชื่อบ้านจะต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดในการเช่าซื้อบ้าน และประกันภัยสำหรับบ้านบางอย่างที่ไม่ได้บังคับให้ต้องทำตามกฎหมาย หลายคนอาจมีคำถามในใจว่าแล้วประกันภัยสำหรับบ้านที่กฎหมายไม่ได้บังคับควรทำหรือไม่
ทางโครงการบ้านคุณธีร์จะมาไขคำตอบที่อาจมีในใจสำหรับผู้ที่ต้องการมีบ้านเป็นของตัวเอง รวมไปถึงผู้ที่ต้องการยื่นขอสินเชื่อบ้านเพราะทางธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ยื่นเอกสารขอสินเชื่อบ้านจะนำเสนอประกันภัยสำหรับบ้านแบบต่าง ๆ มาให้อย่างแน่นอน
ประกันบ้านหรือประกันภัยสำหรับบ้าน (Home Insurance) คือ ประกันที่คุ้มครองสิ่งปลูกสร้างเมื่อเกิดความเสียหายต่าง ๆ โดยประกันจะคุ้มครองและชดเชยค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงให้ตามกรมธรรม์ที่ทำไว้ ซึ่งประกันภัยสำหรับบ้านมีทั้งแบบที่กฎหมายบังคับให้ทำและกฎหมายไม่ได้บังคับให้ทำ อาจกล่าวได้ว่าเป็นประกันอีกชนิดหนึ่งที่ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกับประกันชีวิต (Life Insurance) ประกันอุบัติเหตุ (Accidental Insurance) และประกันรถยนต์ (Car Insurance)
ที่จริงแล้ว ประกันภัยบ้านมีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ในประเทศอังกฤษ หรือมีมาก่อนเหตุการณ์มหาอัคคีภัยแห่งลอนดอน (The Great Fire of London) ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1666 ในเวลานั้นยังคงมีเพียงประกันภัยรูปแบบเดียว จุดเริ่มต้นของประกันบ้านมาจากภัยพิบัติที่ส่งผลให้บ้านเรือนจำนวนมากกว่า 13,000 ครัวเรือนเสียหายและพังทลาย จึงทำให้ผู้คนต่างตื่นตัวและตระหนักถึงแนวทางการป้องกันหากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์กับบ้านที่สามารถชดเชยความเสียหายได้ และนั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของประกันภัยสำหรับบ้าน อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาดังกล่าวประกันภัยสำหรับบ้านยังไม่ได้อยู่ในชื่อประกันภัยบ้านที่เรารู้จักอย่างเช่นปัจจุบัน แต่เป็นประกันภัยที่มีแบบเดียวเท่านั้น (One Policy: Only One Thing Could Go Wrong) บ้านเรือนส่วนใหญ่ในยุคนั้นสร้างขึ้นจากไม้และปลูกใกล้ชิดกัน นอกจากนี้ ยังใช้เตาไฟหรือการติดไฟแบบเปิด (Open Flame) ในการให้แสงสว่างและความร้อนแก่บ้าน (ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านเรือนในยุคดังกล่าวเกิดไฟไหม้)
สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา ประกันภัยบ้านถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1732 ณ เมือง Charles Town หรือเมือง Charleston ของรัฐ South Carolina ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คนยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนอังกฤษเดินทางไหลเข้าสู่ที่เมืองแห่งนี้เป็นจำนวนมากเนื่องจากบรรยากาศทางการเมืองและวัฒนธรรมในสมัยนั้น หลังจากนั้น 20 ปีต่อมา Benjamin Franklin (หนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ A Founding Father of the United States of America) เร่งขยายกรมธรรม์ประกันภัยให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา และปี ค.ศ. 1752 Franklin ก่อตั้งบริษัทที่มีชื่อว่า Philadelphia Contributionship for the Insurance of Houses from Loss by Fire เป็นบริษัทประกันภัยสำหรับบ้านโดยเฉพาะ เนื่องจากเห็นโอกาสทางธุรกิจด้านความมั่นคงและอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งบริษัทที่ Franklin ก่อตั้งขึ้นมีส่วนสร้างความมั่นคงให้กับคนนับล้าน ๆ คนในประเทศสหรัฐอเมริกาที่บ้านของพวกเขาอาจได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ และบริษัทดังกล่าวยังคงดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน และในศตวรรษต่อมาประเภทของประกันภัยได้ถือกำเนิดขึ้น เช่น ประกันชีวิต (Life Insurance) ประกันสำหรับหย่าร้าง (Widow Insurance) ประกันสำหรับเด็ก (Child Insurance) และประกันสำหรับคนพิการ (Disability Insurance)
สำหรับประเทศไทยเอง ธุรกิจประกันภัยมีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์หรือสมัยรัชกาลที่ 4 (เริ่มจากประกันภัยทางทะเลและขนส่ง Marine Insurance เนื่องจากมีการติดต่อและค้าขายกับชาติตะวันตก) และในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีธุรกิจประกันภัย (Insurance Business) เกิดขึ้นในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยนักลงทุนต่างประเทศ (Foreign Investors) และดำเนินกิจการผ่านตัวแทนที่เป็นคนไทย (Thai Agents)
ประกันภัยสำหรับบ้านมีกี่แบบ…อะไรบ้าง
ประกันภัยสำหรับบ้านถือเป็นผลิตภัณฑ์ประกันภัยอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งในประเทศไทยจะมีประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับบ้านและทรัพย์สินรวมกันประมาณ 5 แบบที่นำเสนอขายในตลาดของประเทศไทยโดยบริษัทประกันต่าง ๆ รวมถึงธนาคารอีกหลายแห่ง ได้แก่ ประกันอัคคีภัย ประกันภัยพิบัติ ประกันทรัพย์สินภายในที่อยู่อาศัย ประกันภัยโจรกรรม และประกันคุ้มครองหลักทรัพย์ โดยมีรายละเอียดของประกันภัยสำหรับบ้านแต่ละแบบ ดังนี้
ประกันอัคคีภัย เป็นประกันภัยสำหรับบ้านที่ผู้ที่ต้องการสินเชื่อบ้านต่างรู้จักกันดี คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า และแก๊สที่ใช้ประโยชน์ในบ้าน หากเกิดอัคคีภัยขึ้น บริษัทที่รับทำประกันอัคคีภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายความคุ้มครองให้กับเจ้าของบ้าน ซึ่งประกันอัคคีภัยจะไม่ครอบคลุมการระเบิดที่เกิดจากแผ่นดินไหว อย่างไรก็ดี ประกันภัยสำหรับบ้านประเภทนี้จะเป็นประกันที่มีอายุสั้น หรือต้องมีการซื้อประกันรายปี หรือทุก 2 – 3 ปี ค่าเบี้ยประกันจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัทที่ทำ หรือไม่เกิน 0.1% ของมูลค่าบ้าน หากเป็นประกันที่มีอายุการคุ้มครองนานขึ้น เบี้ยประกันจะถูกลง
สิ่งที่ควรทราบ: ประกันอัคคีภัยเป็นประกันภัยสำหรับบ้านที่กฎหมายบังคับสำหรับบ้านใหม่ต้องทำประกันประเภทนี้ แต่สำหรับบ้านเก่า บ้านที่ไม่ได้ขอกู้สินเชื่อบ้าน และไม่ได้จำนอง ไม่จำเป็นต้องทำประกันอัคคีภัยตามกฎหมาย
ประกันภัยพิบัติ เป็นประกันภัยสำหรับบ้านที่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วม แผ่นดินไหว และพายุ ประกันภัยประเภทนี้ ต้องตรวจสอบและอ่านรายละเอียดที่ระบุในกรมธรรม์ให้ดี เช่น ให้ความคุ้มครองแผ่นดินไหวตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไป หรือพายุความเร็วลมตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพราะหากบ้านที่ทำประกันอยู่ในพื้นที่ที่ถูกกำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่สำหรับรองรับน้ำ พื้นที่กักเก็บน้ำ หรือทางผ่านน้ำ จะไม่ได้รับความคุ้มครองจากประกันภัยพิบัติ (แต่ในส่วนนี้จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐโดยตรงแทน)
สิ่งที่ควรทราบ: ประกันภัยพิบัติเป็นประกันภัยสำหรับบ้านที่กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องทำ
ประกันทรัพย์สินภายในที่อยู่อาศัย คือ ประกันภัยสำหรับบ้านที่คุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สินภายในบ้าน เช่น เฟอร์นิเจอร์ และของมีค่าภายในบ้านต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์ ซึ่งประกันอัคคีภัยและประกันภัยพิบัติมักจะคุ้มครองเฉพาะตัวบ้านหรือโครงสร้างบ้าน
สิ่งที่ควรทราบ: ประกันทรัพย์สินภายในที่อยู่อาศัยเป็นประกันภัยสำหรับบ้านที่กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องทำ
ประกันภัยคุ้มครองการโจรกรรม คือ อีกหนึ่งประกันภัยสำหรับบ้านที่มีบางบริษัทประกันภัยพัฒนาประกันภัยชนิดนี้ขึ้นและนำเสนอแก่ผู้เป็นเจ้าของบ้าน เนื่องจากการโจรกรรมทรัพย์สินภายในบ้านสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของบ้านมากเช่นกัน โดยทั่วไป ประกันประเภทนี้จะคุ้มครองการโจรกรรมใน 3 ลักษณะ ได้แก่ การโจรกรรมที่มีร่องรอยการงัดแงะต่อสถานที่ที่เอาประกันภัย การโจรกรรมและการปล้นทรัพย์มีร่องรอยการงัดแงะต่อสถานที่ที่เอาประกันภัย และการโจรกรรม การปล้นทรัพย์ และการหลักทรัพย์ที่มีและไม่มีร่องรอยการงัดแงะต่อสถานที่ที่เอาประกันภัย
สิ่งที่ควรทราบ: ประกันภัยคุ้มครองการโจรกรรมเป็นประกันที่กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องทำ
ประกันภัยคุ้มครองการโจรกรรม คือ อีกหนึ่งประกันภัยสำหรับบ้านที่มีบางบริษัทประกันภัยพัฒนาประกันภัยชนิดนี้ขึ้นและนำเสนอแก่ผู้เป็นเจ้าของบ้าน เนื่องจากการโจรกรรมทรัพย์สินภายในบ้านสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของบ้านมากเช่นกัน โดยทั่วไป ประกันประเภทนี้จะคุ้มครองการโจรกรรมใน 3 ลักษณะ ได้แก่ การโจรกรรมที่มีร่องรอยการงัดแงะต่อสถานที่ที่เอาประกันภัย การโจรกรรมและการปล้นทรัพย์มีร่องรอยการงัดแงะต่อสถานที่ที่เอา
สิ่งที่ควรทราบ: ประกันภัยคุ้มครองการโจรกรรมเป็นประกันที่กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องทำ
ปัจจุบันธนาคารส่วนใหญ่หันมาทำธุรกิจประกันมากขึ้น และมักนำเสนอประกันภัยสำหรับบ้านแบบต่าง ๆ ให้แก่ผู้ยื่นขอสินเชื่อบ้าน ทั้งแบบที่กฎหมายบังคับและกฎหมายกำหนดไม่ได้บังคับให้ต้องทำ สำหรับผู้ที่ต้องการทำประกันภัยบ้านแบบต่าง ๆ ที่กฎหมายไม่ได้บังคับให้ทำ ไม่ควรเลือกซื้อประกันภัยบ้านจากบริษัทที่นำเสนอค่าเบี้ยประกันภัยถูกที่สุด แต่ให้พิจารณาเกณฑ์การเลือกซื้อประกันจากบริษัท ดังนี้
- เลือกบริษัทประกันภัยที่มีผู้นิยมใช้และซื้อกรมธรรม์
- เลือกบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
- เลือกบริษัทประกันภัยที่จ่ายค่าสินไหมทดแทนตรงเวลาที่นัดหมาย
- เลือกบริษัทประกันภัยที่ให้บริการรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุหรือประสบภัย
- เลือกบริษัทประกันภัยที่ให้ความรู้กับผู้เอาประกันภัย
- เลือกบริษัทประกันภัยที่มีระบบเทคโนโลยีที่พัฒนามากที่สุด
- เลือกบริษัทประกันภัยที่ให้ความสำคัญต่อบทบาทของนายหน้า
- เลือกบริษัทประกันภัยที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร
เกณฑ์การเลือกบริษัทประกันข้างต้นสะท้อนถึงความน่าเชื่อ ความมั่นคง ความสามารถในการจ่ายสินไหมทดแทน การดำเนินธุรกิจประกันที่ดี รวมไปถึงการให้บริการที่ดีให้แก่ผู้เอาประกัน
นอกจากนี้ ควรตระหนักถึงการเรียกร้องค่าเสียหายเมื่อต้องเคลม เพราะกรมธรรม์ที่มีเงื่อนไขที่ดีไม่ได้หมายความว่าขั้นตอนหรือกระบวนการในการเรียกร้องค่าเสียหายจะดีตาม เพราะเป็นเรื่องของการประเมินความเสียหายและการเจรจาต่อรองค่าเสียหาย ทั้งนี้เงื่อนไขและการเรียกร้องค่าเสียหายเป็นคนละส่วนกัน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการทำประกันภัยต้องพิจารณาในส่วนนี้ให้รอบคอบ
ประกันบ้านทั้ง 5 แบบสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท (สำหรับผู้ต้องการสินเชื่อบ้าน) คือ ประกันบ้านที่กฎหมายบังคับต้องทำและประกันบ้านที่กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องทำ
ประเภทของประกันบ้าน | จำเป็นต้องทำหรือไม่ | |
กฎหมายบังคับ | ประกันอัคคีภัย
|
เป็นประเภทของประกันภัยที่กฎหมายบังคับให้ผู้เช่าซื้อต้องทำสำหรับบ้านใหม่ หรือผู้ที่ต้องการสินเชื่อบ้านใหม่จากสถาบันการเงินหรือธนาคารต้องทำ |
กฎหมายไม่ได้บังคับ | ประกันภัยพิบัติ | หากว่าบ้านที่กำลังอาศัยอยู่ อยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว และพายุ ควรทำประกันภัยชนิดนี้ไว้ เพราะสามารถคุ้มครองและชดเชยค่าเสียหากเกิดภัยพิบัติตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ |
ประกันภัยคุ้มครองการโจรกรรม | หากอาศัยอยู่ในบ้านไปสักระยะหนึ่งจะทราบดีว่าแถวบ้านมีการโจรกรรมหรือไม่ ประกันประเภทนี้บ้านทุกประเภทสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเก่า บ้านใหม่ หรือคอนโดมิเนียม หากมีความเสี่ยงเรื่องของการโจรกรรม แต่ไม่สามารถย้ายไปไหนได้ การทำประกันภัยโจรกรรมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างความอุ่นใจให้กับเจ้าของบ้านรวมถึงสมาชิกภายในบ้าน หากเกิดเหตุงัดแงะบ้านขึ้นมา เพราะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่จะตามมาภายหลังเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ | |
ประกันทรัพย์สินภายในที่อยู่อาศัย | โดยส่วนมากประกันอัคคีภัยรวมถึงประกันภัยพิบัติจะคุ้มครองเฉพาะตัวบ้านหรือโครงสร้างบ้าน หากทำประกันอัคคีภัยไปแล้วแนะนำให้ประกันทรัพย์สินภายในบ้านควบคู่กัน ซึ่งจะคุ้มครองเฟอร์นิเจอร์หรือทรัพย์สินมีค่าต่าง ๆ ที่อยู่ภายในบ้าน ทั้งนี้ต้องตรวจสอบรายที่ระบุในกรมธรรม์ว่าสอดคล้องกับความต้องการหรือไม่
* ปัจจุบันบริษัทประกันรวมถึงธนาคารจะเสนอประกันอัคคีภัยที่มาพร้อมกับประกันทรัพย์สินภายในที่อยู่อาศัย * |
|
ประกันคุ้มครองหลักทรัพย์ (MRTA) | เป็นประกันที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องผ่อนบ้านแต่มีรายได้น้อย และรับผิดชอบผ่อนชำระค่าบ้านคนเดียว หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น ผู้กู้เสียชีวิตหรือไม่มีความสามารถผ่อนชำระค่าบ้านได้ ประกันชนิดนี้จะรับผิดชอบค่าบ้านส่วนที่เหลือ และไม่เป็นภาระแก่สมาชิกภายในบ้าน |
ทั้งนี้ ประกันภัยสำหรับบ้านไม่ได้ถือเป็นหลักเกณฑ์สำหรับการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อบ้าน (ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้กู้เป็นหลัก) ดังนั้น หากผู้ต้องการสินเชื่อไม่ต้องการทำประกันภัยบ้านที่กฎหมายไม่ได้บังคับ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้รับการพิจารณาสินเชื่อบ้าน
สรุป:
ประกันภัยสำหรับบ้านถือเป็นประกันภัยที่คนขอสินเชื่อบ้านต่างรู้จักกันดี และกฎหมายบังคับให้ต้องทำประกันภัยบ้านประเภทประกันอัคคีภัยสำหรับบ้านใหม่ อย่างไรก็ดี ยังมีประกันภัยบ้านแบบอื่นที่เป็นประโยชน์เช่นกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการ และสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย
ชมข้อมูลโครงการบ้านคุณธีร์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ผ่านช่องทาง
Facebook: THEE Home
LINE: @theehome
คุณเจ: 095-645-6942